Saturday, March 17, 2007

การบันทึกบัญชี


การคำนวณค่าเสื่อมราคา
ในกรณีที่ทรัพย์สินถาวรนั้นเป็นประเภทที่เสื่อมค่าลงเนื่องจากการใช้หรือระยะเวลา เช่น อาคารที่ทำการ ต้องคำนวณคิดค่าเสื่อมราคาหรือเฉลี่ยราคาทุนของสินทรัพย์เพื่อกระจายเป็นค่าใช้จ่ายในงวดการบัญชีต่าง ๆ ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาเส้นตรง และนำค่าเสื่อมราคาหักออกจากราคาทุนของทรัพย์สิน การบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาก็ปฏิบัติตามวิธีการบัญชีทั่วไป
การบันทึกบัญชี
Dr. บัญชีค่าเสื่อมราคา
Cr. บัญชีที่ทำการธนาคาร
(กรณีที่หักค่าเสื่อมราคาออกจากราคาทุนของทรัพย์สิน)
Dr. บัญชีค่าเสื่อมราคา
Cr. บัญชีสำรองค่าเสื่อมราคา
(กรณีที่ตั้งสำรองค่าเสื่อมราคา)

สำหรับการบันทึกบัญชีและการเก็บเอกสารแสดงสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินถาวร อาจเก็บและบันทึกบัญชีที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาก็ได้ แต่โดยทั่วไปธนาคารพาณิชย์สำนักงานใหญ่เป็นผู้จัดหาสินทรัพย์ถาวรและบันทึกบัญชีไว้ที่สำนักงานใหญ่ก่อนแล้ว ต่อเมื่อสาขาเปิดดำเนินการจึงโอนบัญชีให้กับสาขา ส่วนเอกสารแสดงสิทธิหรือกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 สัญญาเช่า สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้เก็บรักษา การจำหน่ายหรือเลิกใช้ทรัพย์สินถาวรก็คงใช้วิธีการปฏิบัติบัญชีเช่นเดียวกับทรัพย์สินถาวรโดยทั่วไป ทรัยพ์สินประเภทใดจำเป็นต้องประกันอัคคีภัยก็ควรจัดทำประกันให้คุ้มกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
สินทรัพย์ที่มีราคามาก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรลงบัญชี เครื่องจักรในการพิมพ์ การมีทะเบียนสินทรัพย์เป็นสิ่งจำเป็นมาก จะช่วยให้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นได้โดยละเอียด เช่น ชื่อทรัพย์สิน ที่ตั้ง ราคา สภาพ (เพื่อประกันภัย) ผู้ขาย ระยะเวลาที่ผู้ขายรับประกัน ราคาซื้อ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ควรจะถือเป็นต้นทุน อายุการใช้งาน รายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาและค่าซ่อมแซม รายละเอียดอื่น ๆ เหตุขัดข้องเกี่ยวกับการใช้ หรือส่วนที่ผิดปกติ หรือการใช้งานพิเศษซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนต่ออายุการใช้งาน และการกำหนดค่าเสื่อมราคา
การเก็บหลักฐานของสินทรัพย์โดยละเอียดจะช่วยให้การประมาณค่าเสื่อมราคาทำได้ใกล้เคียงยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์ในการคำนวณราคาประกัยนภัย การคิดกำไรขาดทุนเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์ และการพิจารณาซื้อทรัพย์สินใหม่

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ประจำ
ตัวอย่างที่ 1
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2537 ธนาคารสยาม จำกัด ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสาขาราคา 700,000.00 บาท ชำระด้วยเช็คธนาคาร ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2537 ธนาคารได้จ่ายเงินสดชำระค่าปรับปรุงที่ดินอีก 5,000.00 บาท ในวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ธนาคารได้ออกเช็คธนาคารจำนวน 1,200,000.00 บาท ชำระค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการสาขา เปิดดำเนินงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 และเมื่อสิ้นงวดการบัญชีธันวาคม 2537 ได้คำนวณตัดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 5 ต่อปี 2.5 ต่องวด
การบันทึกบัญชี
เดบิต เครดิต
10 มี.ค.2537 บัญชีอสังหาริมทรัพย์อื่น 700,000. 00
บัญชีเช็คธนาคาร 700,000.00 (เมื่อซื้อที่ดินเตรียมเป็นที่ตั้งสาขา)
20 มี.ค.2537 บัญชีอสังหาริมทรัพย์อื่น 5,000.00
บัญชีเงินสด 5,000.00 (เมื่อจ่ายค่าปรับปรุงที่ดินซึ่งจะเป็นที่ตั้งสาขา)
30 มิ.ย.2537 บัญชีอสังหาริมทรัพย์อื่น 1,200,000.00
บัญชีอสังหาริมทรัพย์อื่น 1,200,000.00
(เมื่อจ่ายค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการสาขา)
3 ก.ค.2537 บัญชีที่ทำการสาขา 1,905,000.00
บัญชีอสังหาริมทรัพย์อื่น 1,905,000.00
(โอนเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นที่ทำการสาขา)
30 ธ.ค.2537 บัญชีค่าเสื่อมราคาที่ทำการ 30,000.00
บัญชีที่ทำการ 30,000.00
(เมื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาประจำงวด)

No comments: